Axial Flow Impeller Analysis


Home

>

Training

>

Axial Flow Impeller Analysis

887 views

-

EP-19 : Axial Flow Impeller Analysis
"Effect of impeller diameter increase"


เพื่อศึกษาการ Scale Up ของใบกวนที่มีการไหลแบบ Axial Flow Pattern ชนิดใบ Marine Propeller, สำหรับถังขนาด 20L / 100L / 500L / 1,000L / 2,000L โดยการคำนวณค่าต่างๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง, ทั้งนี้งานทั้งหมดที่ได้ทดลองคำนวณได้ผ่านการสร้างงานจริงมาแล้วทั้งหมด

Products Properties
Viscosity 1 mPa.sec / Density 1,000 kg/m^3
Tank with Baffle Plate 4EA (D/12)
Degree of Mixing type : Medium Mixing

สามารถดูกราฟและการคำนวณได้ที่
http://www.miscible.co.th/RD-1.html

กราฟ-1 : บนซ้าย

ทำการควบคุมให้ Tip Speed มีค่าคงที่เพื่อให้การ Scale Up มีความสอดคล้องในการเพิ่มของ Dimensional ตัวอื่นๆ และ ดูการเปลี่ยนแปลง, จะเห็นว่า NE มีค่าคงที่ เมื่อ RE มากกว่า 200,000 และ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเลย แต่ Power Absorb มีค่าเพิ่มขึ้นตามขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เพิ่มขึ้น, สรุปได้ว่า Dimensionless Number 'NE' ไม่สามารถเอามาทำสมดุลการ Scale Up ของใบกวนแบบ Marine propeller ได้เมื่อความปั่นป่วนที่ได้เป็นลักษณะแบบ Turbulence ที่มีค่า RE สูงๆ

กราฟ-2 : บนขวา

การเพิ่มขึ้นของ เส้นผ่านศูนย์กลางใบกวน ภายใต้ Tip Speed ที่คงที่ทำให้ Maximum Shear Rate ลดลง, ในขณะที่ค่า RE ก็เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการ Scale Up นั่นหมายความว่า เมื่อปริมาตรของเหลวเพิ่มขึ้นแต่กระบวนการที่ต้องการค่า Maximum Shear Rate ที่เท่าเดิมโดยยึด Model ของถังขนาดเล็ก และ ผลการผสมของถังขนาดเล็กเป็นหลักนั้น เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ, ส่งผลให้ Mixing Time ของระบบมากขึ้นตามลำดับ ทำให้เกิดความขัดแย้งของผลในห้องปฏิบัติการกับงานในกระบวนการจริงที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาก, สรุปได้ว่า หากเราใช้ Dimensionless Number 'RE' เป็นตัวควบคุม Scale Up ในกระบวนการที่ระบบต้องการ Maximum Shear Rate ไม่สามารถทำได้

กราฟ-3 : ล่างซ้าย

การ Scale Up โดยใช้ความสัมพันธ์ เฉพาะ NE และ RE เป็นไปไม่ได้เลย

กราฟ-4 : ล่างขวา

การใช้ Dimensional Analysis ของการเพิ่มขนาดใบกวน ไม่เป็นไปตามสัดส่วนการเพิ่มของ Tank Geometry, สรุปได้ว่าการใช้ Dimensional Analysis ในการเพิ่มสัดส่วนของถังผสมก่อน แล้วมาหาการเพิ่มสัดส่วนของใบกวน ไม่สอดคล้องกัน, หากจะให้สอดคล้องด้านการคำนวณ ต้องใช้ใบกวนที่ใหญ่มากและไม่ส่งผลดีในด้านการผลิต, ที่สำคัญจะเป็นการเพิ่มพลังงานลงไปโดยไม่เกิดประโยชน์การการผสม

ถาม-ตอบ

ถาม-1 : ทำไมถึงควบคุม Tip Speed เท่ากัน
ตอบ-1 : เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของ Dimensional อื่นๆที่เพิ่มขึ้น, รวมถึง ตามหลักพฤติกรรมของใบกวน (EP-2) ค่า Tip Speed ที่เหมาะสมของใบกวนแบบ Marine Propeller อยู่ระหว่าง 8-12 m/sec, หากเราไม่ควบคุม Tip Speed และ ปล่อยให้ Tip Speed เพิ่มขึ้นตามสัดส่วน Dimensional อื่นๆ จะทำให้ความเร็วไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมของใบกวนนั้นๆ นั่นหมายถึงว่า ออกแบบ Agitator ไม่ถูกต้อง

ถาม-2 : เหตุผลที่ NE คงที่แต่ RE เพิ่มขึ้น
ตอบ-2 : ในความเป็นจริงแล้ว RE เพิ่มขึ้นเฉพาะการคำนวณเท่านั้น แต่ RE ของจริงไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม, ความปั่นป่วนของของเหลวจะมีค่าเท่าเดิมไม่ว่าจะใส่พลังงานเข้าไปเท่าใดก็ตามจะไม่ส่งผลอะไรกับระบบเลย, ทั้งนี้เหตุผลนี้เองที่ NE จากกราฟที่ได้จากการทดลองจริง มีค่าคงที่เมื่อผ่าน RE ที่ค่า Maximum จุดหนึ่งๆแล้ว

ถาม-3 : Shear Rate กับ Mixing Time
ตอบ-3 : ค่า Maximum Shear Rate ลดลงเพราะ Output Impeller Speed ลดลงตามสัดส่วนของ Impeller Diameter ที่เพิ่มขึ้น, หากคิด Maximum Shear Rate ที่ระบบได้รับต่อ Volume ที่เพิ่มขึ้นแล้วย่อมส่งผลให้ Mixing Time ที่ได้ในแต่ละ Tank ไม่เท่ากันเป็นเรื่องปกติ

ถาม-4 : ทำให้ Mixing Time เท่ากันได้หรือไม่
ตอบ-4 : ไม่ได้

 

Cr. สถาพร เลี้ยงศิริกูล
Tel : 091.7400.555
Line : sataporn.miscible
Miscible Technology Co.,Ltd.




Blogs

-

High Shear Mixer_Ep.4

อ้างอิงจาก The Effect of Stator Geometry on the Flow Pattern and Energy Dissipation Rate in a Rotor-Stator Mixer / A.Utomo, M.Baker, A.W.Pacek / 2009, ขอแสดงทัศนะให้สอดคล้องจาก Ep ที่ผ่านมาที่ว่าด้วย du/dr ครับ อ้างอิงจากผู้วิจัย ได้ทำการใช้ CFD ในเพื่อศึกษา Vector ของความเร็ว ซึ่งจากรูปจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะของระบบ (ความเร็ว) นั้นบ่งบอกถึงทิศทางและขนาดของภาวะ โดยมี Max.Velocity 6m/sec (จริงๆน้อยนะครับ) แต่ใช้ค่า Max-Min ศึกษาได้, กล่าวคือ Head ของ Stator ที่เป็นรูใหญ่จะสร้าง Velocity Drop น้อย และ รูแบบ Slot, รูแบบเล็ก ตามลำดับ นั่นแสดงว่า Shear Rate ของ Head ที่มีรูขนาดเล็กให้ du ที่มีค่ามากที่สุด (ตัด dr ออกเนื่องด้วย Gab ของ Rotor-Stator จาก CFD มีค่าเท่ากัน) นั่นคือ รูขนาดเล็กสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบในลักษณะ Emulsion ได้ดีที่สุด สอดคล้องกับสมการที่เคยกล่าวมา แต่....จาก Vector ของความเร็วจะเห็นได้ว่า Stator Head ของรูขนาดเล็กก็ทำให้เกิด Dead Zone of Mixing ได้ง่ายเช่นกัน ตรงนี้บ่งบอกอะไร บ่งบอกว่าการเลือกใช้งานสัดส่วน d/D ของ Rotor-Stator นั่นไม่เหมาะกับถังขนาดใหญ่ หรือ หากต้องการใช้ก็จำเป็นต้องมีเครื่องกวนอีกประเภทที่สามารถขจัด Dead Zone of Mixing ได้ ในลักษณะของ Scraper นั่นเองครับ การทำ CFD มีวัตถุประสงค์และประโยชน์ประมาณนี้เลยครับ แต่มักจะเข้าใจผิดกันว่า CFD คือ สิ่งที่สามารถบอก Mixing Time ได้, บอกกำลังของต้นกำลังได้ ไม่ใช่แบบนั้นครับ ปริมาณในเชิง Scalar ต้องคำนวณครับ, ส่วนปริมาณเชิง Vactor ก็เหมาะกับการทำ Simulation และ ในงานของ Fluid Mixing เราจะใช้ CFD ในการดูแนวโน้มของ Flow Pattern ของใบกวนมากที่สุด (เน้นบริเวณใกล้ๆใบกวนด้วยครับ)

Next